วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน้าแรก

สื่อการเรียนการสอน

เรื่อง   กรด-เบส


จัดทำโดย
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6
เสนอ
อาจารย์พิมล  กลิ่นขจร


โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

กรด-เบส (สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์)

1.สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์
 สารละลายอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) คือสารที่ละลายในตัวทำละลายแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้   ทำให้สามา รถนำไฟฟ้าได้   แบ่งเป็น
1.     อิเล็กโทรไลต์แก่  -   สารที่ละลายในตัวทำละลายแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้ดีมาก หรือ แตกตัวได้หมด  ทำให้มีสภาพนำไฟฟ้าได้ดีมาก   เช่น   NaCl ,  KNO3 ,  Ca(OH)2  เป็นต้น
2.     อิเล็กโทรไลต์อ่อน  -   สารที่ละลายในตัวทำละลายแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้บางส่วนหรือแตกตัวได้น้อย  ทำให้นำไฟฟ้าได้น้อย    เช่น    HF ,  HCN   เป็นต้น
*     ความแรงของกรด เบส
เบสแก่    คือ   เบสที่แตกตัวเป็นไอออนได้มาก  100%   นำไฟฟ้าได้ดีมาก   เรียกอีกอย่างว่า   อิเล็กโทรไลต์แก่   เช่น  เบสหมู่  1 ทุกตัว
กรดแก่    คือ   กรดที่แตกตัวเป็นไอออนได้มาก  100%  นำไฟฟ้าได้ดีมาก   เรียกอีกอย่างว่า  อิเล็กโทรไลต์แก่   เช่น    กรด  Hydro ,  กรด  Oxy
เบสอ่อน    คือ   เบสที่แตกตัวเป็นไอออนได้น้อย      นำไฟฟ้าได้น้อย     เรียกอีกอย่างว่า    อิเล็กโทรไลต์อ่อน
เช่น   Na4OH                                                  
 กรดอ่อน   คือ   กรดที่แตกตัวเป็นไอออนได้น้อย     นำไฟฟ้าได้น้อย     เรียกอีกอย่างว่า    อิเล็กโทรไลต์อ่อน  เช่น    HCN ,  HF                                                                                 
*     ปัจจัยที่มีผลต่อการแตกตัวของ กรด -  เบส
1.   ชนิดของกรด -  เบส    กรดแก่ -  เบสแก่  แตกตัวได้  100%   ส่วนกรดอ่อน -  เบสอ่อน  แตกตัวได้น้อย
2.   อุณหภูมิ    อุณหภูมิยิ่งสูง   จะละลายน้ำได้ดีขึ้น  แตกตัวมากขึ้น
3.   ความเข้มข้น    กรดเบสเจือจางแตกตัวได้ดีกว่า  กรดเบสเข้มข้น   เช่น   การเติมน้ำกลั่นใน  battery รถก็เพื่อทำให้สารละลายเจือจางลง  ซึ่งจะทำให้แตกตัวได้ดีขึ้น   และ  นำไฟฟ้าได้ดีขึ้น

กรด-เบส (สารละลายกรดและสารละลายเบส)

2.สารละลายกรดและสารละลายเบส
   2.1ไอออนในสารละลายกรด
ในสารละลายกรดทุกชนิด จะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่งคือ H+ หรือ เมื่อรวมกับน้ำได้เป็น H3O+ (ไฮโดรเนียมไอออน) ทำให้กรดมีสมบัติเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งเกิดจากกรด HCl ละลายในน้ำ โมเลกุลของ HCl และ น้ำต่างก็เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้ว ทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วของ HCl และน้ำ โดยที่โปรตอน (H) ของ HCl ถูกดึงดูดโดยโมเลกุลของน้ำเกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H+ + H2O --> H3O+) ในบางครั้งเขียนแทน H3O+ ด้วย H+ โดยเป็นที่เข้าใจว่า H+ นั้นจะอยู่รวมกับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ เสมอ
      2.2ไอออนในสารละลายเบส
ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือ ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ซึ่งทำให้เบสมีสมบัติเหมือนกัน และมีสมบัติต่างไปจากกรด
3.ทฤษฎีกรด-เบส
ทฤษฎีกรด -  เบสอาร์เรเนียส (Arrhenius)  กล่าวว่า  กรด  คือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้  H   หรือ  H3O    ส่วนเบส   คือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้  OH


*     ทฤษฎีกรด -  เบส  เบรินสเตด-ลาวรี  (Bronsted-Lowry)   กล่าวว่า   กรด  คือสารที่ให้โปรตอนแก่ สารอื่น   ส่วนเบส   คือ  สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น


(Thomas Martin Lowry )
(Bronsted, Johannes Nicolaus )
*     ทฤษฏีกรด -  เบส  เรวิส  (Lewis)  กล่าวว่า   กรด  คือ  สารที่รับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จากสารอื่น    ส่วน  เบสคือ  สารที่ให้อิเล็กตรอนคู่โดด เดี่ยวแก่สารอื่น 

กรด-เบส (สารละลายกรด-เบส)

สารละลายกรด - เบส
สมบัติของสารละลายกรด - เบส
     สารละลายกรด (Acid) หมายถึง สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เมื่อละลายน้ำสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+)
     สารละลายเบส (Base) หมายถึง สารประกอบที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-)
สมบัติของสารละลายกรด
     สารละลายกรดมีสมบัติทั่วไป ดังนี้
     1.  กรดทุกชนิดจะมีรสเปรี้ยว กรดชนิดใดมีรสเปรี้ยวมากแสดงว่ามีความเป็นกรดมาก เช่น กรดแอซีติกที่เข้มข้นมากจะมีรสเปรี้ยวจัด เมื่อนำมาทำน้ำส้มสายชูจะใช้กรดแอซีติกที่มีความเข้มข้นเพียง 5% โดยมวลต่อปริมาตร (กรดแอซีติก 5 กรัม ละลายในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร) เพื่อให้มีรสเปรี้ยวน้อยพอเหมาะกับการปรุงอาหาร
     2.  เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง สำหรับกระดาษลิตมัสเป็นอิน ดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้ทดสอบความเป็นกรดเป็นเบส
     3.  กรดทำปฏิกิริกับโลหะบางชนิด เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม ดีบุก และอลูมิเนียม ได้แก๊สไฮโดรเจน (H2) เมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงไปในสารละลายกรดเกลือ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ฟองแก๊สไฮโดรเจนผุดขึ้นมาจากสารละลายกรดอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ง่าย และเนื่องจากแก๊สไฮโดรเจนเป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ จึงมีผู้นำปฏิกิริยาดังกล่าวมาใช้เตรียมแก๊สไฮโดรเจน
     นอกจากนี้กรดจะทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น ทองคำ ทองคำขาว เงิน ปรอท ได้ช้ามากหรืออาจไม่เกิดปฏิกิริยา
     4.  กรดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ เช่น กรดเกลือทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นเบส ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกง ทำปฏิกิริยารหว่างกรดและเบสที่พอดีจะเรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทิน

     5.  กรดสามารถเกิดปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเราสามารถทดสอบแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นผ่านแก๊สเข้าไปในน้ำปูนใส (สารละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำ) ซึ่งจะทำให้น้ำปูนใสขุ่นทันที เนื่องจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำปูน ใสได้แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ
     6.  สารละลายกรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี เพราะกรดสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+)
     7.  กรดทุกชนิดมีค่า pH น้อยกว่า 7
     8.  กรดมีฤทธิ์กัดกร่อนสารต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ถ้ากรดถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อน หากกรดถูกเส้นใยของเสื้อผ้า เส้นใยจะถูกกัดกร่อนให้ไหม้ได้ นอกจากนี้กรดยังทำลายเนื้อไม้ กระดาษ และพลาสติกบางชนิดได้ด้วย


กรด-เบส (สมบัติของสารละลายเบส)

สมบัติของสารละลายเบส     สารละลายเบสมีสมบัติทั่วไป ดังนี้
     1.  เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
     2.  เบสทำปฏิกิริยากับกรดจะได้เกลือและน้ำ ตัวอย่างเช่น สารละลายโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์) ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก) จะได้เกลือโซเดียมคลอไรด์ นอกจากนี้สารละลายโซดาไฟสามารถทำปฎิกิริยากับกรดไขมันได้เกลือโซเดียมของกรด ไขมัน หรือที่เราเรียกว่า สบู่ (Soap)
     3.  เบสทำปฏิกิริยากับสารละลายแอมโมเนียมไนเดรตได้แก๊สแอมโมเนีย ซึ่งเรานำมาใช้ ดมเมื่อเป็นลม
     4.  เบสทุกชนิดมีค่า pH มากกว่า 7 สามารถกัดกร่อนโลหะอลูมิเนียม และสังกะสี ทำให้มีฟองแก๊สเกิดขึ้น

กรด-เบส (อินดิเคเตอร์สำหรับกรด – เบส)

8.อินดิเคเตอร์สำหรับกรด – เบส
ในชีอินดิเคเตอร์  คือ สารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลายได้อย่างหนึ่ง สารประกอบที่เปลี่ยนสีได้ที่ pH  เฉพาะตัว จะถูกนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้  เช่น ฟีนอล์ฟทาลีน จะไม่มีสีเมื่ออยู่ในสารละลายกรด และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่ออยู่ในสารละลายเบสที่มี  pH  8.3
การเปลี่ยนสีของอินดิเค เตอร์
  HIn   เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในรูปกรด (Acid form)
  In   เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในรูปเบส (Basic form)
 รูปกรดและรูปเบสมีภาวะสมดุล เขียนแสดงได้ด้วยสมการ ดังนี้
     HIn (aq)   +  H2O (l)  <-------->  H3O+ (aq)   +  In- (aq)
   ไม่มีสี * (รูปกรด)                                      สีชมพู* (รูปเบส)       ;  (*  = กรณีเป็นฟีนอล์ฟทาลีน)

กรด-เบส (ปฏิกิริยาของกรดและเบส)

9.ปฏิกิริยาของกรดและเบส
    9.1ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
จากทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตตและลาวรี  กรดคือสารที่ให้โปรตอน และเบสคือ สารที่รับโปรตอน เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับเบส จึงมีการถ่ายโอนโปรตอนระหว่างกรดและเบสนั่นเอง
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส แบ่งออกได้ตามชนิดของปฏิกิริยาดังนี้
            1.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl  กับเบสแก่ KOH ได้เกลือ KCl  และน้ำ 
            2.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl  กับเบสอ่อน NH4OH  ได้เกลือ  NH4Cl  และน้ำ
            3.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่  เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด CH3COOH  และเบส NaOH  ได้เกลือโซเดียมแอซิเตต (CH3COONa)  และน้ำ
           
            4.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด HCN  กับเบส NH4OH ได้เกลือ NH4CN    และน้ำ
         ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสในน้ำนี้จะทำให้สารละลายที่ได้แสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลางได้ ซึ่งพิจารณาได้เป็น 2 กรณี
            1.ในกรณีกรดและเบสทำปฏิกิริยากันแล้วมีกรดหรือเบสเหลืออยู่ ถ้ามีกรดเหลืออยู่สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด ถ้ามีเบสเหลืออยู่สารละลายก็จะแสดงสมบัติเป็นเบส
            2.ถ้ากรดกับเบสทำปฏิกิริยากันหมดพอดี ได้เกลือกับน้ำ สารละลายของเกลือที่ได้จากปฏิกิริยา จะแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือนั้นว่ามาจากกรดและเบสประเภทใด ทั้งนี้เพราะเกลือแต่ละชนิดจะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรไลซีส ซึ่งจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติกรด-เบสต่างกัน รายละเอียดอยู่ในหัวข้อต่อไป
9.2ปฏิกิริยาของกรดหรือเบสกับสารบางชนิด
กรดนอกจากจะสามารถทำปฏิกิริยาสะเทินกับเบสได้เกลือกับน้ำ แล้วยังสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น Zn,  Fe,  ได้ก๊าซ H2 และเกลือของโลหะนั้น หรือทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอนเนต เช่น CaCO3 , Na2CO3 หรือเกลือ NaHCO3   ได้ก๊าซ CO2

กรด-เบส (ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส)

     9.3ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส
ไฮโดรไลซีส  หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างสาร(เกลือ) กับน้ำ
       ไฮโดรไลซีสของเกลือ หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างเกลือกับน้ำ เกลือเป็นอิเล็กโทรไลต์แก่ เมื่อเกลือละลายในน้ำ เกลือจะแตกตัวออกเป็นไอออนบวกและไอออนลบทั้งหมด ดังนั้น สมบัติของสารละลายของเกลือ จึงขึ้นอยู่กับไอออนบวกและไอออนลบในสารละลายนั้น ไอออนบางตัวสามารถที่จะทำปฏิกิริยากับน้ำและให้ H+ หรือ OH- ได้ ปฏิกิริยานี้จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส   
            1. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายในน้ำจะไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำ ทั้งนี้เพราะ ทั้งไอออนบวกที่มาจากเบสแก่ และไอออนลบที่มจากกรดแก่ ต่างก็ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ เช่น  NaCl  เมื่อละลายน้ำได้ Na+  และ Cl-  ทั้ง Na+  ซึ่งมาจากเบสแก่ และ Cl-  ซึ่งมาจากกรดแก่  HCl  จะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ไม่มีผลต่อค่า  pH ของสารละลาย สารละลายจึงเป็นกลาง คือมี [H3O+]  และ [OH-]  ที่แตกตัวจากน้ำมีปริมาณเท่ากัน  pH  ของสารละลายเท่ากับ  7
            2. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะได้ไอออนลบที่มาจากกรดอ่อนที่มีสมบัติเป็นคู่เบสที่แรงพอสมควร  ไอออนลบที่เกิดขึ้นจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำได้  OH- ไอออนทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นเบส
            ตัวอย่างเช่น  NaClO เมื่อละลายน้ำจะให้  Na+  และ ClO- ดังนี้
                        NaClO (s)      Na+ (aq)    +  ClO- (aq)
            ClO-  จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส โดยรับโปรตอนจากน้ำได้เป็น  HClO และ OH- ตามสมการ
                        ClO- (aq)  +  H2O (l)   HClO (aq)   +   OH- (aq)
            สำหรับ  Na+ (aq) ไอออน ซึ่งมาจากเบสแก่ NaOH  ไม่เกิดการไฮโดรไลซีส
            ดังนั้นสารละลายที่เกิดจากการละลายของเกลือ NaClO ในน้ำแล้วเกิดการไฮโดรไลซีสของ ClO- (aq) จะได้ OH-  ไอออน จึงแสดงสมบัติเป็นเบส   pH  ของสารละลายมีค่ามากกว่า  7

            3. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะให้ไอออนบวกที่มาจากเบสที่เป็นคู่กรด ที่มีความแรงพอสมควร ไอออนบวกนี้จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำให้  H3O+ ทำให้สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด
            ส่วนไอออนลบซึ่งมาจากกรดแก่ ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  ตัวอย่างเช่น
            NH4Cl  ซึ่งเกิดจากกรดแก่ HCl  กับเบสอ่อน  NH3
                        NH4Cl  แตกตัวในน้ำได้  NH4+  และ Cl-  ทั้งหมด
                                    NH4Cl (aq)     NH4+ (aq)   +  Cl- (aq)
                        Cl-  ไม่เกิดการไฮโดรไลซีส  แต่   NH4+ เกิดไฮโดรไลซีส  โดย  NH4+ จะให้โปรตอนกับ  H2O  ได้เป็น  NH3 (aq)  และ  H3O (aq)  ดังสมการ
                        NH4+ (aq)  +  H2O (l)   NH3 (aq)  +  H3O+ (aq)
            จะเห็นได้ว่าผลจากการไฮโดรไลซีสของ NH4Cl จะได้ H3O+  ดังนั้นสารละลายของเกลือ NH4Cl จึงแสดงสมบัติเป็นกรด  pH  ของสารละลายมีค่าน้อยกว่า  7
            4.การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำได้ไอออนบวกและไอออนลบ ซึ่งไอออนทั้งสองนี้ สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้ทั้งคู่  ไอออนบวกของเกลือจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้  H3O+  ส่วนไอออนลบได้ OH-  ดังนั้นความเป็นกรด-เบสของสารละลายจึงขึ้นอยู่กับว่าไอออนบวกหรือไอออนลบเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสได้ดีกว่ากัน  โดยพิจารณาจากค่าคงที่ของการแตกตัวของคู่เบส (Kb) (ไอออนลบ) หรือค่าคงที่การแตกตัวของคู่กรด  Ka (ไอออนบวก)
            เนื่องจาก ค่า  Kb >  Ka  ดังนั้นแสดงว่า  CN-  เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสให้  OH-  ได้ดีกว่า NH4+  ดังนั้น  [OH-]  >  [H3O+]  สารละลายของเกลือ NH4CN  จึงแสดงสมบัติเป็นเบส  pH  มีค่ามากกว่า  7
            5.การไฮโดรไลซีสของไอออนลบของเกลือที่เกิดจากกรดพอลิโปรติก
            ไอออนลบของเกลือที่เกิดจากกรดพอลิโปรติก เช่น  CO32-  ,  PO43-  สามารถเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสได้หลายขั้น เนื่องจากสามารถรับ  H+  จาก  H2O  ได้มากกว่า  1  โปรตอน  เช่น
            ปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสของเกลือ  Na2CO3 (s)
            เมื่อ เกลือ  Na2CO3 (s) ละลายน้ำ จะเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้หมด คือ
                        Na2CO3 (s)      Na+ (aq)   +  CO32-  (aq) 
            Na+  ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส เนื่องจากมาจาก เบสแก่ NaOH
            CO32- (aq)  เกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสได้ 2 ขั้นตอนดังนี้
                        CO32- (aq) +  H2O (l)     HCO3- (aq)   +  OH- (aq)
และ                 HCO3- (aq) +  H2O (l)     H2CO3 (aq)   +  OH- (aq)
            1.4.การคำนวณเกี่ยวกับการไฮโดรไลซีสของเกลือแบบต่างๆ
            จากที่กล่าวมาแล้ว เกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสนั้น อาจเกิดหรือไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือ
            1.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่
            เกลือชนิดนี้ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสสารละลายแสดงสมบัติเป็นกลาง
            2.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน เช่น CH3COoNa  เกลือชนิดนี้แตกตัวให้ไอออนลบที่สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้ 
                        CH3COONa  แตกตัว  100 %  ได้  CH3COO- (aq)  และ  Na+ (aq)
                                    CH3COONa (aq)    CH3COO- (aq)  +  Na+ (aq)
                        CH3COO- ที่ได้ก็คือเบสอ่อน ซึ่งสามารถรับโปรตอนจากน้ำได้เป็นกรดแอซิติก และได้ OH- ซึ่งมาจากการที่โมเลกุลของน้ำที่ให้โปรตอน ทำให้สารละลายเป็นเบส
                        CH3COO- (aq)   +   H2O (l)     CH3COOH (aq)  +  OH- (aq)
            
            3.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสอ่อน เช่น  NH4Cl  ซึ่งเป็นเกลือที่เกิดจากกรดแก่ HCl  และเบสอ่อน NH4OH  เกลือ  NH4Cl  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ NH4+  และ Cl-   NH4+ เป็นกรดอ่อน สามารถให้โปรตอน (H+) กับน้ำได้  H3O+  ทำให้สารละลายเป็นเบส 
   
         4.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน
            เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน เมื่อแตกตัวในน้ำจะให้ไอออนที่มาจากกรดอ่อนและไอออนที่มาจากเบสอ่อน ไอออนทั้งสองเกิดการไฮโดรไลซีสได้ทำให้เกิดทั้ง  OH- และ H3O+ ในสารละลาย สารละลายอาจเป็นกรด กลาง หรือเบสก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณ OH-  หรือ  H3O+
ปฏิกิริยาการสะเทิน  (Neutralization reaction)
            ปฏิกิริยาการสะเทิน หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบส ซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาพอดีกันได้สารผลิตภัณฑ์ คือ เกลือและน้ำ
การหาปริมาณสารซึ่งเป็นกรดหรือเบส โดยอาศัยปฏิกิริยาการสะเทิน
            เราสามารถหาปริมาณสารซึ่งเป็นกรดหรือเบส โดยอาศัยปฏิกิริยาการสะเทินข้างต้น
            การหาปริมาณที่เป็นกรดหรือเบสนี้ ใช้วิธีที่สารละลายตัวอย่างที่เป็นกรดหรือเบส ทำปฏิกิริยากับสารละลายที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอนซึ่งเป็นเบสหรือกรด  แล้ววัดปริมาตรของสารละลายทั้งสองที่เข้าทำปฏิกิริยากัน
            สารละลายที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอน เรียกว่า สารละลายมาตรฐาน และกระบวนการหาปริมาณสารโดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง เรียกว่า  วิธีการไทเทรต
11.การไทเทรตกรด-เบส(Acid-base titration)
            การไทเทรตกรด-เบส หมายถึง กระบวนการหาปริมาณสาร โดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน ให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากันพอดี ทำให้คำนวณหาความเข้มข้นหรือปริมาณของสารตัวอย่างดังกล่าวได้
            วิธีการไทเทรตกรด-เบส คือ นำสารละลายกรดหรือเบสตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หาปริมาณ มาทำการไทเทรตกับสารละลายเบสหรือกรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน กล่าวคือ ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นเบส นำมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกัน จากนั้นนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่างต่อไป  หรือทางตรงกันข้าม ถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบส  ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นกรด

กรด-เบส (ปฏิกิริยาในการไทเทรตกรด-เบส)

2.1 ปฏิกิริยาในการไทเทรตกรด-เบส
            ปฏิกิริยา ที่เกี่ยวข้อง  ในการไทเทรตกรด-เบสต่างๆ  ได้แก่
                        1.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
                        2.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน
                        3.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
            สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อนไม่นิยมนำมาใช้ในการไทเทรตกรด-เบส เพราะที่จุดสมมูล หรือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ชัดเจน
            ปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบส เขียนแทนด้วยสมการ
                        H+ (aq)  +  OH- (aq)   2O (l)
            จุดสมมูล (Equivalence point)
            ในการไทเทรตกรด-เบส จุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยากันพอดี หรือจุดที่ H3O+ ไอออนหรือ H+ ทำปฏิกิริยาพอดีกับ OH- ไอออน ด้วยจำนวนโมลที่เท่ากัน เรียกว่า จุดสมมูล
            ถ้าใช้พีเอชมิเตอร์ วัดหาค่า pH ณ จุดสมมูลจะพบว่า จุดสมมูลของปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบส แต่ละปฏิกิริยาหรือแต่ละคู่จะมี pH ที่จุดสมมูลแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากัน แต่สามารถระบุอย่างคร่าวๆ ได้ ดังนี้
*               ถ้าเป็นการไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ pH  ของสารละลาย ณ จุดสมมูลประมาณ  7
*                ถ้าเป็นการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่ pH ของสารละลาย ณ จุดสมมูลจะมากกว่า 7
*                ถ้าเป็นการไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน pH ของสารละลาย ณ จุดสมมูลจะน้อยกว่า 7
            จุดยุติ (End point)
            การที่จะทราบว่า ปฏิกิริยาการไทเทรตถึงจุดสมมูลหรือยังนั้น  จะต้องมีวิธีการที่จะหาจุดสมมูล วิธีการหนึ่งคือ การใช้อินดิเคเตอร์  โดยอินดิเคเตอร์จะต้องเปลี่ยนสีที่จุดที่พอดีหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูล นั่นคือ  จุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี  จะเรียกว่า จุดยุติ   ดังนั้น จึงต้องเลือกอินดิเคเตอร์ให้เหมาะสมที่จะให้เห็นการเปลี่ยนสีที่จุดสมมูลพอดี  ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์ไม่เหมาะสม  จะทำให้เกิด ความคลาดเคลื่อนของการไทเทรต (titration error) ซึ่งเกิดจากการที่มีความแตกต่างระหว่างจุดสมมูลและจุดยุติของการไทเทรต กล่าวคือ จุดสมมูลและจุดยุติ ไม่ได้อยู่ในช่วง  pH  เดียวกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ก่อนหรือหลังจุดสมมูล

กรด-เบส (การคำนวณเกี่ยวกับ pH ของสารละลายและการสร้างกราฟของการไทเทรตกราฟของการไทเทรต)

2. การคำนวณเกี่ยวกับ pH ของสารละลายและการสร้างกราฟของการไทเทรตกราฟของการไทเทรต


            เป็นกราฟที่ได้จากการเขียนระหว่าง pH ของสารละลายที่เปลี่ยนไปขณะไทเทรต กับปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน จะได้กราฟที่มีรูปร่างเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับความแรงของกรด และเบสที่เกี่ยวข้องในการทำไทเทรต ความเข้มข้นของกรดและเบส สภาวะที่เกิดเป็นบัฟเฟอร์ และการเกิดไฮโดรไลซีสของเกลือ จุดประสงค์ของการเขียนกราฟของการไทเทรต เพื่อศึกษาดูว่า การไทเทรตระหว่างกรด-เบสคู่นั้นจะทำได้หรือไม่ และยังใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเลือกใช้อินดิเคเตอร์อีกด้วย ซึ่งกราฟของการไทเทรตนี้ แบ่งออกได้เป็น  3  ช่วง คือ
                        1.ก่อนถึงจุดสมมูล 
                        2.ที่จุดสมมูล  จำนวนโมลของกรดจะทำปฏิกิริยาพอดีกับเบส
                        3.หลังจุดสมมูล
            1. การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
            การไทเทรตกรดแก่ด้วยเบสแก่นั้น ทั้งกรดแก่และเบสแก่ต่างก็แตกตัวได้หมด ตัวอย่างเช่น การไทเทรตสารละลายกรดเกลือ (HCl) ด้วยสารละลายมาตรฐานเบส NaOH  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ
                        HCl(aq)  +  NaOH(aq)     H2O (l)  +  NaCl (aq)
            จากปฏิกิริยาได้เกลือ NaCl (aq)  ซึ่งมีสภาพเป็นกลางในตัวทำละลายที่เป็นน้ำ
            รูปที่    เป็นกราฟของการไทเทรตระหว่าง 100 cm3 0.1 โมล/ลิตร HCl  กับ สารละลาย 0.1 โมล/ลิตร NaOH  ก่อนการไทเทรตสารละลายมีแต่กรด HCl  เพียงอย่างเดียว และความเข้มข้นเท่ากับ 0.1 โมล/ลิตร ดังนั้น  pH ของสารละลายที่จุดเริ่มต้นจะเท่ากับ  1.0  เมื่อเติมสารละลาย NaOH  ลงในสารละลายกรดเกลือ จะทำให้ความเข้มข้นของ H+ ลดลงเรื่อยๆ ทำให้ pH  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงจุดสมมูล และจุดนี้ pH  ของสารละลายเท่ากับ  7
รูปที่ 4 กราฟของการไทเทรตระหว่าง 100 cm3 0.1 โมล/ลิตร HCl  กับ สารละลาย 0.1 โมล/ลิตร NaOH
            การไทเทรตระหว่างกรดแก่และเบสแก่ สารละลายผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นเกลือที่ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส ดังนั้น การหาค่า pH ก็คำนวณจากปริมาณ H3O+ หรือ OH- ที่มีอยู่ในสารละลายนั้นโดยตรง