วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรด-เบส (ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส)

     9.3ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส
ไฮโดรไลซีส  หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างสาร(เกลือ) กับน้ำ
       ไฮโดรไลซีสของเกลือ หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างเกลือกับน้ำ เกลือเป็นอิเล็กโทรไลต์แก่ เมื่อเกลือละลายในน้ำ เกลือจะแตกตัวออกเป็นไอออนบวกและไอออนลบทั้งหมด ดังนั้น สมบัติของสารละลายของเกลือ จึงขึ้นอยู่กับไอออนบวกและไอออนลบในสารละลายนั้น ไอออนบางตัวสามารถที่จะทำปฏิกิริยากับน้ำและให้ H+ หรือ OH- ได้ ปฏิกิริยานี้จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส   
            1. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายในน้ำจะไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำ ทั้งนี้เพราะ ทั้งไอออนบวกที่มาจากเบสแก่ และไอออนลบที่มจากกรดแก่ ต่างก็ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ เช่น  NaCl  เมื่อละลายน้ำได้ Na+  และ Cl-  ทั้ง Na+  ซึ่งมาจากเบสแก่ และ Cl-  ซึ่งมาจากกรดแก่  HCl  จะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ไม่มีผลต่อค่า  pH ของสารละลาย สารละลายจึงเป็นกลาง คือมี [H3O+]  และ [OH-]  ที่แตกตัวจากน้ำมีปริมาณเท่ากัน  pH  ของสารละลายเท่ากับ  7
            2. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะได้ไอออนลบที่มาจากกรดอ่อนที่มีสมบัติเป็นคู่เบสที่แรงพอสมควร  ไอออนลบที่เกิดขึ้นจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำได้  OH- ไอออนทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นเบส
            ตัวอย่างเช่น  NaClO เมื่อละลายน้ำจะให้  Na+  และ ClO- ดังนี้
                        NaClO (s)      Na+ (aq)    +  ClO- (aq)
            ClO-  จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส โดยรับโปรตอนจากน้ำได้เป็น  HClO และ OH- ตามสมการ
                        ClO- (aq)  +  H2O (l)   HClO (aq)   +   OH- (aq)
            สำหรับ  Na+ (aq) ไอออน ซึ่งมาจากเบสแก่ NaOH  ไม่เกิดการไฮโดรไลซีส
            ดังนั้นสารละลายที่เกิดจากการละลายของเกลือ NaClO ในน้ำแล้วเกิดการไฮโดรไลซีสของ ClO- (aq) จะได้ OH-  ไอออน จึงแสดงสมบัติเป็นเบส   pH  ของสารละลายมีค่ามากกว่า  7

            3. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะให้ไอออนบวกที่มาจากเบสที่เป็นคู่กรด ที่มีความแรงพอสมควร ไอออนบวกนี้จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำให้  H3O+ ทำให้สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด
            ส่วนไอออนลบซึ่งมาจากกรดแก่ ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส  ตัวอย่างเช่น
            NH4Cl  ซึ่งเกิดจากกรดแก่ HCl  กับเบสอ่อน  NH3
                        NH4Cl  แตกตัวในน้ำได้  NH4+  และ Cl-  ทั้งหมด
                                    NH4Cl (aq)     NH4+ (aq)   +  Cl- (aq)
                        Cl-  ไม่เกิดการไฮโดรไลซีส  แต่   NH4+ เกิดไฮโดรไลซีส  โดย  NH4+ จะให้โปรตอนกับ  H2O  ได้เป็น  NH3 (aq)  และ  H3O (aq)  ดังสมการ
                        NH4+ (aq)  +  H2O (l)   NH3 (aq)  +  H3O+ (aq)
            จะเห็นได้ว่าผลจากการไฮโดรไลซีสของ NH4Cl จะได้ H3O+  ดังนั้นสารละลายของเกลือ NH4Cl จึงแสดงสมบัติเป็นกรด  pH  ของสารละลายมีค่าน้อยกว่า  7
            4.การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน
            เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำได้ไอออนบวกและไอออนลบ ซึ่งไอออนทั้งสองนี้ สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้ทั้งคู่  ไอออนบวกของเกลือจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้  H3O+  ส่วนไอออนลบได้ OH-  ดังนั้นความเป็นกรด-เบสของสารละลายจึงขึ้นอยู่กับว่าไอออนบวกหรือไอออนลบเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสได้ดีกว่ากัน  โดยพิจารณาจากค่าคงที่ของการแตกตัวของคู่เบส (Kb) (ไอออนลบ) หรือค่าคงที่การแตกตัวของคู่กรด  Ka (ไอออนบวก)
            เนื่องจาก ค่า  Kb >  Ka  ดังนั้นแสดงว่า  CN-  เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสให้  OH-  ได้ดีกว่า NH4+  ดังนั้น  [OH-]  >  [H3O+]  สารละลายของเกลือ NH4CN  จึงแสดงสมบัติเป็นเบส  pH  มีค่ามากกว่า  7
            5.การไฮโดรไลซีสของไอออนลบของเกลือที่เกิดจากกรดพอลิโปรติก
            ไอออนลบของเกลือที่เกิดจากกรดพอลิโปรติก เช่น  CO32-  ,  PO43-  สามารถเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสได้หลายขั้น เนื่องจากสามารถรับ  H+  จาก  H2O  ได้มากกว่า  1  โปรตอน  เช่น
            ปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสของเกลือ  Na2CO3 (s)
            เมื่อ เกลือ  Na2CO3 (s) ละลายน้ำ จะเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้หมด คือ
                        Na2CO3 (s)      Na+ (aq)   +  CO32-  (aq) 
            Na+  ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส เนื่องจากมาจาก เบสแก่ NaOH
            CO32- (aq)  เกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสได้ 2 ขั้นตอนดังนี้
                        CO32- (aq) +  H2O (l)     HCO3- (aq)   +  OH- (aq)
และ                 HCO3- (aq) +  H2O (l)     H2CO3 (aq)   +  OH- (aq)
            1.4.การคำนวณเกี่ยวกับการไฮโดรไลซีสของเกลือแบบต่างๆ
            จากที่กล่าวมาแล้ว เกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสนั้น อาจเกิดหรือไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือ
            1.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่
            เกลือชนิดนี้ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสสารละลายแสดงสมบัติเป็นกลาง
            2.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน เช่น CH3COoNa  เกลือชนิดนี้แตกตัวให้ไอออนลบที่สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้ 
                        CH3COONa  แตกตัว  100 %  ได้  CH3COO- (aq)  และ  Na+ (aq)
                                    CH3COONa (aq)    CH3COO- (aq)  +  Na+ (aq)
                        CH3COO- ที่ได้ก็คือเบสอ่อน ซึ่งสามารถรับโปรตอนจากน้ำได้เป็นกรดแอซิติก และได้ OH- ซึ่งมาจากการที่โมเลกุลของน้ำที่ให้โปรตอน ทำให้สารละลายเป็นเบส
                        CH3COO- (aq)   +   H2O (l)     CH3COOH (aq)  +  OH- (aq)
            
            3.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสอ่อน เช่น  NH4Cl  ซึ่งเป็นเกลือที่เกิดจากกรดแก่ HCl  และเบสอ่อน NH4OH  เกลือ  NH4Cl  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ NH4+  และ Cl-   NH4+ เป็นกรดอ่อน สามารถให้โปรตอน (H+) กับน้ำได้  H3O+  ทำให้สารละลายเป็นเบส 
   
         4.การคำนวณเกี่ยวกับเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน
            เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน เมื่อแตกตัวในน้ำจะให้ไอออนที่มาจากกรดอ่อนและไอออนที่มาจากเบสอ่อน ไอออนทั้งสองเกิดการไฮโดรไลซีสได้ทำให้เกิดทั้ง  OH- และ H3O+ ในสารละลาย สารละลายอาจเป็นกรด กลาง หรือเบสก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณ OH-  หรือ  H3O+
ปฏิกิริยาการสะเทิน  (Neutralization reaction)
            ปฏิกิริยาการสะเทิน หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบส ซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาพอดีกันได้สารผลิตภัณฑ์ คือ เกลือและน้ำ
การหาปริมาณสารซึ่งเป็นกรดหรือเบส โดยอาศัยปฏิกิริยาการสะเทิน
            เราสามารถหาปริมาณสารซึ่งเป็นกรดหรือเบส โดยอาศัยปฏิกิริยาการสะเทินข้างต้น
            การหาปริมาณที่เป็นกรดหรือเบสนี้ ใช้วิธีที่สารละลายตัวอย่างที่เป็นกรดหรือเบส ทำปฏิกิริยากับสารละลายที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอนซึ่งเป็นเบสหรือกรด  แล้ววัดปริมาตรของสารละลายทั้งสองที่เข้าทำปฏิกิริยากัน
            สารละลายที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอน เรียกว่า สารละลายมาตรฐาน และกระบวนการหาปริมาณสารโดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง เรียกว่า  วิธีการไทเทรต
11.การไทเทรตกรด-เบส(Acid-base titration)
            การไทเทรตกรด-เบส หมายถึง กระบวนการหาปริมาณสาร โดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน ให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากันพอดี ทำให้คำนวณหาความเข้มข้นหรือปริมาณของสารตัวอย่างดังกล่าวได้
            วิธีการไทเทรตกรด-เบส คือ นำสารละลายกรดหรือเบสตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หาปริมาณ มาทำการไทเทรตกับสารละลายเบสหรือกรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน กล่าวคือ ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นเบส นำมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกัน จากนั้นนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่างต่อไป  หรือทางตรงกันข้าม ถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบส  ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นกรด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น