วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรด-เบส (ปฏิกิริยาในการไทเทรตกรด-เบส)

2.1 ปฏิกิริยาในการไทเทรตกรด-เบส
            ปฏิกิริยา ที่เกี่ยวข้อง  ในการไทเทรตกรด-เบสต่างๆ  ได้แก่
                        1.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
                        2.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน
                        3.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
            สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อนไม่นิยมนำมาใช้ในการไทเทรตกรด-เบส เพราะที่จุดสมมูล หรือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ชัดเจน
            ปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบส เขียนแทนด้วยสมการ
                        H+ (aq)  +  OH- (aq)   2O (l)
            จุดสมมูล (Equivalence point)
            ในการไทเทรตกรด-เบส จุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยากันพอดี หรือจุดที่ H3O+ ไอออนหรือ H+ ทำปฏิกิริยาพอดีกับ OH- ไอออน ด้วยจำนวนโมลที่เท่ากัน เรียกว่า จุดสมมูล
            ถ้าใช้พีเอชมิเตอร์ วัดหาค่า pH ณ จุดสมมูลจะพบว่า จุดสมมูลของปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบส แต่ละปฏิกิริยาหรือแต่ละคู่จะมี pH ที่จุดสมมูลแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากัน แต่สามารถระบุอย่างคร่าวๆ ได้ ดังนี้
*               ถ้าเป็นการไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ pH  ของสารละลาย ณ จุดสมมูลประมาณ  7
*                ถ้าเป็นการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่ pH ของสารละลาย ณ จุดสมมูลจะมากกว่า 7
*                ถ้าเป็นการไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน pH ของสารละลาย ณ จุดสมมูลจะน้อยกว่า 7
            จุดยุติ (End point)
            การที่จะทราบว่า ปฏิกิริยาการไทเทรตถึงจุดสมมูลหรือยังนั้น  จะต้องมีวิธีการที่จะหาจุดสมมูล วิธีการหนึ่งคือ การใช้อินดิเคเตอร์  โดยอินดิเคเตอร์จะต้องเปลี่ยนสีที่จุดที่พอดีหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูล นั่นคือ  จุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี  จะเรียกว่า จุดยุติ   ดังนั้น จึงต้องเลือกอินดิเคเตอร์ให้เหมาะสมที่จะให้เห็นการเปลี่ยนสีที่จุดสมมูลพอดี  ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์ไม่เหมาะสม  จะทำให้เกิด ความคลาดเคลื่อนของการไทเทรต (titration error) ซึ่งเกิดจากการที่มีความแตกต่างระหว่างจุดสมมูลและจุดยุติของการไทเทรต กล่าวคือ จุดสมมูลและจุดยุติ ไม่ได้อยู่ในช่วง  pH  เดียวกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ก่อนหรือหลังจุดสมมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น