วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรด-เบส (สารละลายกรดและสารละลายเบส)

2.สารละลายกรดและสารละลายเบส
   2.1ไอออนในสารละลายกรด
ในสารละลายกรดทุกชนิด จะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่งคือ H+ หรือ เมื่อรวมกับน้ำได้เป็น H3O+ (ไฮโดรเนียมไอออน) ทำให้กรดมีสมบัติเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งเกิดจากกรด HCl ละลายในน้ำ โมเลกุลของ HCl และ น้ำต่างก็เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้ว ทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วของ HCl และน้ำ โดยที่โปรตอน (H) ของ HCl ถูกดึงดูดโดยโมเลกุลของน้ำเกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H+ + H2O --> H3O+) ในบางครั้งเขียนแทน H3O+ ด้วย H+ โดยเป็นที่เข้าใจว่า H+ นั้นจะอยู่รวมกับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ เสมอ
      2.2ไอออนในสารละลายเบส
ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือ ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ซึ่งทำให้เบสมีสมบัติเหมือนกัน และมีสมบัติต่างไปจากกรด
3.ทฤษฎีกรด-เบส
ทฤษฎีกรด -  เบสอาร์เรเนียส (Arrhenius)  กล่าวว่า  กรด  คือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้  H   หรือ  H3O    ส่วนเบส   คือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้  OH


*     ทฤษฎีกรด -  เบส  เบรินสเตด-ลาวรี  (Bronsted-Lowry)   กล่าวว่า   กรด  คือสารที่ให้โปรตอนแก่ สารอื่น   ส่วนเบส   คือ  สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น


(Thomas Martin Lowry )
(Bronsted, Johannes Nicolaus )
*     ทฤษฏีกรด -  เบส  เรวิส  (Lewis)  กล่าวว่า   กรด  คือ  สารที่รับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จากสารอื่น    ส่วน  เบสคือ  สารที่ให้อิเล็กตรอนคู่โดด เดี่ยวแก่สารอื่น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น