วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรด-เบส (การคำนวณเกี่ยวกับ pH ของสารละลายและการสร้างกราฟของการไทเทรตกราฟของการไทเทรต)

2. การคำนวณเกี่ยวกับ pH ของสารละลายและการสร้างกราฟของการไทเทรตกราฟของการไทเทรต


            เป็นกราฟที่ได้จากการเขียนระหว่าง pH ของสารละลายที่เปลี่ยนไปขณะไทเทรต กับปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน จะได้กราฟที่มีรูปร่างเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับความแรงของกรด และเบสที่เกี่ยวข้องในการทำไทเทรต ความเข้มข้นของกรดและเบส สภาวะที่เกิดเป็นบัฟเฟอร์ และการเกิดไฮโดรไลซีสของเกลือ จุดประสงค์ของการเขียนกราฟของการไทเทรต เพื่อศึกษาดูว่า การไทเทรตระหว่างกรด-เบสคู่นั้นจะทำได้หรือไม่ และยังใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเลือกใช้อินดิเคเตอร์อีกด้วย ซึ่งกราฟของการไทเทรตนี้ แบ่งออกได้เป็น  3  ช่วง คือ
                        1.ก่อนถึงจุดสมมูล 
                        2.ที่จุดสมมูล  จำนวนโมลของกรดจะทำปฏิกิริยาพอดีกับเบส
                        3.หลังจุดสมมูล
            1. การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
            การไทเทรตกรดแก่ด้วยเบสแก่นั้น ทั้งกรดแก่และเบสแก่ต่างก็แตกตัวได้หมด ตัวอย่างเช่น การไทเทรตสารละลายกรดเกลือ (HCl) ด้วยสารละลายมาตรฐานเบส NaOH  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ
                        HCl(aq)  +  NaOH(aq)     H2O (l)  +  NaCl (aq)
            จากปฏิกิริยาได้เกลือ NaCl (aq)  ซึ่งมีสภาพเป็นกลางในตัวทำละลายที่เป็นน้ำ
            รูปที่    เป็นกราฟของการไทเทรตระหว่าง 100 cm3 0.1 โมล/ลิตร HCl  กับ สารละลาย 0.1 โมล/ลิตร NaOH  ก่อนการไทเทรตสารละลายมีแต่กรด HCl  เพียงอย่างเดียว และความเข้มข้นเท่ากับ 0.1 โมล/ลิตร ดังนั้น  pH ของสารละลายที่จุดเริ่มต้นจะเท่ากับ  1.0  เมื่อเติมสารละลาย NaOH  ลงในสารละลายกรดเกลือ จะทำให้ความเข้มข้นของ H+ ลดลงเรื่อยๆ ทำให้ pH  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงจุดสมมูล และจุดนี้ pH  ของสารละลายเท่ากับ  7
รูปที่ 4 กราฟของการไทเทรตระหว่าง 100 cm3 0.1 โมล/ลิตร HCl  กับ สารละลาย 0.1 โมล/ลิตร NaOH
            การไทเทรตระหว่างกรดแก่และเบสแก่ สารละลายผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นเกลือที่ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส ดังนั้น การหาค่า pH ก็คำนวณจากปริมาณ H3O+ หรือ OH- ที่มีอยู่ในสารละลายนั้นโดยตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น