วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรด-เบส (การไทเทรตกรดพอลิโปรติก)

2.3 การไทเทรตกรดพอลิโปรติก
            กรดโพลิโปรติกสามารถให้โปรตอน (H+) กับเบสได้มากกว่า 1 โปรตอน ตัวอย่างเช่น กรดซัลฟิวริก (H2SO4) เป็นกรดไดรโปรติก ให้โปรตอนได้ 2 ตัว กรดฟอสฟอริก (H3PO4) เป็นกรดไตรโปรติก ใหโปรตอนได้ 3 ตัว สมการแสดงภาวะสมดุลของกรดพอลิโปรติก สามารถเขียนได้ดังนี้

                        H2M   +    H2O    H3O+    +  HM-
                        HM-    +   H2O    H3O+    +  M2-
            H2M  เป็นกรดไดโปรติก มีค่าคงที่การแตกตัว  K1 และ K2 ในการไทเทรตกรไดโปรติกนี้กับเบสกรดจะทำปฏิกิริยากับเบสเป็น  2  ขั้นด้วยกัน และมีจุดสมมูลเกิดขึ้น 2 จุดด้วยกัน
*                จุดสมมูลที่หนึ่ง  โปรตอนตัวแรกทำปฏิกิริยาพอดีกับเบส
*                จุดสมมูลที่สอง  โปรตอนตัวที่สองทำปฏิกิริยาพอดีกับเบส
            ความเข้มข้นของ H+ ในสารละลาย หรือ pH ของสารละลายจะขึ้นอยู่กับค่า K1 และ K2 ในการไทเทรตกรดพอลิโปรติกนี้ ถ้า   <  103 จะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะที่จุดสมมูลที่หนึ่ง
            กรดฟอสฟอริก (H3PO4) ซึ่งเป็นกรดไตรโปรติก K1 = 7.11 x 10-3 , K2 = 6.34 x 10-8 , K3 = 4.2 x10-13 อัตราสว่นของ K1/K2  ประมาณ  105 ทำให้เห็นจุดสมมูลทั้งสองได้ชัดเจน แต่การแตกตัวของโปรตอนตัวที่ 3 มีค่าน้อย ทำให้ไม่สามารถเห็นจุดสมมูลสุดท้ายได้
            กรดซัลฟิวริก (H2SO4) ซึ่งเป็นกรดไดโปรติกที่เป็นกรดแก่ สามารถแตกตัวได้ 100 % ในขั้นแรกและในขั้นที่สองก็แตกตัวได้ดีมาก (K = 10-2) ความแรงของกรด H2SO4 และ HSO4- ไม่ต่างกันมากนัก ทำให้เห็นจุดสมมูลรวมกันเพียงจุดเดียว (รูปที่ 15.8 กราฟเส้น B)
            กรดออกซาลิก (HOOCCOOH)  Ka1  =  5.36 x 10-2 , Ka2 = 5.42 x 10-5 อัตราส่วนของ K1/K2 ประมาณ  103 ทำให้จุดสมมูลจุดแรกไม่ชัดเจน แต่จุดสมมูลที่สองจะเห็นได้ชัดเจนและใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณออกซาลิกได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น