วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรด-เบส (ปฏิกิริยาของกรดและเบส)

9.ปฏิกิริยาของกรดและเบส
    9.1ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
จากทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตตและลาวรี  กรดคือสารที่ให้โปรตอน และเบสคือ สารที่รับโปรตอน เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับเบส จึงมีการถ่ายโอนโปรตอนระหว่างกรดและเบสนั่นเอง
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส แบ่งออกได้ตามชนิดของปฏิกิริยาดังนี้
            1.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl  กับเบสแก่ KOH ได้เกลือ KCl  และน้ำ 
            2.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl  กับเบสอ่อน NH4OH  ได้เกลือ  NH4Cl  และน้ำ
            3.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่  เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด CH3COOH  และเบส NaOH  ได้เกลือโซเดียมแอซิเตต (CH3COONa)  และน้ำ
           
            4.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด HCN  กับเบส NH4OH ได้เกลือ NH4CN    และน้ำ
         ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสในน้ำนี้จะทำให้สารละลายที่ได้แสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลางได้ ซึ่งพิจารณาได้เป็น 2 กรณี
            1.ในกรณีกรดและเบสทำปฏิกิริยากันแล้วมีกรดหรือเบสเหลืออยู่ ถ้ามีกรดเหลืออยู่สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด ถ้ามีเบสเหลืออยู่สารละลายก็จะแสดงสมบัติเป็นเบส
            2.ถ้ากรดกับเบสทำปฏิกิริยากันหมดพอดี ได้เกลือกับน้ำ สารละลายของเกลือที่ได้จากปฏิกิริยา จะแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือนั้นว่ามาจากกรดและเบสประเภทใด ทั้งนี้เพราะเกลือแต่ละชนิดจะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรไลซีส ซึ่งจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติกรด-เบสต่างกัน รายละเอียดอยู่ในหัวข้อต่อไป
9.2ปฏิกิริยาของกรดหรือเบสกับสารบางชนิด
กรดนอกจากจะสามารถทำปฏิกิริยาสะเทินกับเบสได้เกลือกับน้ำ แล้วยังสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น Zn,  Fe,  ได้ก๊าซ H2 และเกลือของโลหะนั้น หรือทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอนเนต เช่น CaCO3 , Na2CO3 หรือเกลือ NaHCO3   ได้ก๊าซ CO2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น